Thai  Thai

อุทยานแห่งชาติประวัติศาสตร์ศรีเทพ

อุทยานแห่งชาติประวัติศาสตร์ศรีเทพ
อุทยานแห่งชาติประวัติศาสตร์ศรีเทพ
อุทยานแห่งชาติประวัติศาสตร์ศรีเทพ
อุทยานแห่งชาติประวัติศาสตร์ศรีเทพ
อุทยานแห่งชาติประวัติศาสตร์ศรีเทพ
อุทยานแห่งชาติประวัติศาสตร์ศรีเทพ
อุทยานแห่งชาติประวัติศาสตร์ศรีเทพ
อุทยานแห่งชาติประวัติศาสตร์ศรีเทพ
อุทยานแห่งชาติประวัติศาสตร์ศรีเทพ
อุทยานแห่งชาติประวัติศาสตร์ศรีเทพ
อุทยานแห่งชาติประวัติศาสตร์ศรีเทพ
อุทยานแห่งชาติประวัติศาสตร์ศรีเทพ

อุทยานแห่งชาติประวัติศาสตร์ศรีเทพ
   นับเป็นแหล่งอารยธรรม ที่เป็นร่องรอยหลักฐานที่สำคัญที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงปัจจุบัน เป็นอุทยานที่ได้รับรางวัล Thailand Tourism Award ประจำปี 2543 ประเภทแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโบราณสถานยอดเยี่ยม เป็นอุทยานที่สำคัญ น่าศึกษาหาความรู้มากที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดเพชรบูรณ์ เดิมชื่อ เมืองอภัยสาลี ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็น เมืองศรีเทพสร้างขึ้นในยุคของขอมเรืองอำนาจ ซึ่งคาดว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 1000 ปี ภายในตัวเมืองจะแบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ ชั้นนอก ผังเมืองมีลักษณะเป็นวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร ล้อมรอบด้วยคูน้ำ ภายในเมืองในมีกลุ่มโบราณสถานหลักอยู่ใจกลางเมือง ได้แก่ โบราณสถานเขาคลังใน ปรางค์ศรีเทพ และปรางค์สองพี่น้อง นอกจากนี้ ยังพบโบราณสถานขนาดเล็กอีกประมาณ ๕๐ แห่ง และมีสระน้ำประมาณ ๗๐ สระ สระน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือ สระปรางค์ มีพื้นที่ประมาณ ๘ ไร่ และ ชั้นใน ผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมมน มีคูน้ำคันดินล้อมรอบทุกด้าน โดยด้านตะวันตกใช้คูน้ำและคันดินร่วมกับคูน้ำคันดินด้านตะวันออกของเมืองใน โดยมีโบราณสถานกระจายอยู่ประมาณ ๖๐ แห่ง นอกจากนี้ ยังมีสระน้ำประมาณ ๓๐ แห่ง สระน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือ สระขวัญ 
   ภายในอุทยานยังมีแหล่งท่องเที่ยว แหล่งโบราณสถานต่างๆ ให้เรียนรู้อีกมากมาย ดังนี้
ศูนย์บริการข้อมูล
   เป็นอาคารจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และโบราณคดีของเมืองโบราณศรีเทพ  รวมทั้งการอนุรักษ์ให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ ภายในประกอบด้วยห้องประชุม หรือบรรยายสรุปก่อนการเข้าชมนิทรรศการเป็นหมู่คณะ ห้องนิทรรศการถาวรด้วยสื่อที่ทันสมัย ห้องสร้างเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองของเด็ก มีจำหน่ายหนังสือ เครื่องดื่มและของที่ระลึก และอาคารปฏิบัติการทางโบราณคดีที่ใช้จัดแสดงโบราณวัตถุที่ได้จากการดำเนินงานทางโบราณคดีภายในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ และบริเวณใกล้เคียง
อาคารหลุมขุดค้นทางโบราณคดี
   เป็นอาคารที่จัดแสดงโครงกระดูกช้าง โครงกระดูกของมนุษย์ ของเครื่องใช้ต่างๆในอดีต ที่ได้มาจากการขุดค้นทางโบราณคดี เมื่อปี พ.ศ. 2531 โดยโครงกระดูกและสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆที่ได้ขุดพบนำมาใช้เป็นหลักฐานสำคัญถึงการตั้งถิ่นฐานการดำเนินชีวิตในสมัยตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ภายในเมืองเมืองศรีเทพ มากกว่า 2,000 ปี ก่อนที่มีการพัฒนามาเป็นสังคมเมือง และโครงกระดูกช้างเองก็เป็นหลักฐานที่แสเงถึงความเกี่ยวข้องกับการใช้สอยของโปราณสถานในวัฒนธรรมต่างๆในอดีต
อาคารวิชาการและห้องสมุด
   
เป็นอาคารจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และโบราณคดี ห้องสมุด รวมถึงกิจกรรมต่างๆในด้านการอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ 
ปรางค์สองพี่น้อง
   
เป็นสถาปัตยกรรมของวัฒนธรรมเขมร มีบักษณะปราสาทที่ก่อด้วยอิฐสององค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ทั้งสององคต์ส่วนยอดได้พังทลายจนไม่เหลือซากแล้ว แต่องค์เล็กยังเหลือทับหลังศิลาทรายในสภาพสมบูรณ์อยู่ จำหลักเป็นรูปอุมามเหศวร (พระอิศนวรอุ้มนางปารพตี (อุมา) ประทับนั่งอยู่เหนือยโคอศุภราชหรือนนทิ) 
  บริเวณทางเดินตรงด้านหน้าของปรางค์สองพี่น้องที่เป็นรูปกากบาทนั้น ได้มีการค้นพบเทวรูปพระอาทิตย์หรือสุริยเทพ สลักจากศิลาทรายที่มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 13 ซึ่งเคยพบมาก่อนแล้วอีก 5 องค์ ซึ่งปัจจุบันจำนวน 3 องค์ ได้จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร , จำนวน 1 องค์จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี , จำนวน 1 องค์ จัดแสดงว่าอยู่ที่พิพิธภัณฑ์นอร์ตัน ไซมอน สหรัฐอเมริกา และอีกจำนวน 1 องค์ จัดแสดงว่าไว้ที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ทำให้สะท้อนถึงความเชื่อ การเคารถนับถือของศาสนาฮินดูต่อพระอาทิตย์ไรือสุริยเทพในอดีต โดยจะมีพิธีกรรมบางอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับประเพณีมหาสงกรานต์ที่มีการพบเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยในปัจจุบัน 
ปรางค์ศรีเทพ
   เป็นสถาปัตยกรรมแบบศิลปะเขมรหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ลักษณะของปรางค์สร้างด้วยอิฐและศิลาแลง ฐานล่างก่อด้วยศิลาแลงเป็นฐานบัวลูกฟัก แบบเดียวกับสถาปัตยกรรมเขมรทั่วๆ ไป เรือนธาตุก่อด้วยอิฐ ในการขุดค้นบริเวณนี้พบชิ้นส่วนทับหลังรูปลายสลักราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 ซึ่งน่าจะเป็นการสร้างเพิ่มหลังจาก โบราณสถานเขาคลังใน ต่อมาประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 มีการพยายามจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใหม่แต่ไม่
สำเร็จ โดยได้พบชิ้นส่วนทิ้งกระจัดกระจาย
เขาคลังใน
   
เป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาลัทธิหินยานหรือเถรวาทที่มีขนาดใหญ่ สร้างในราวพุทธศตวรรษที่ 12 พร้อมกับสมัยแรกสร้างเมือง ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนเป็นศาสนสถานในพระพุทธศาสนาลัทธิมหานิยม จนถูกทิ้งร้างไป สร้างด้วยศิลาแลง แต่ก็บางส่วนก็ยังคงหลงเหลือประติมากรรมปูนปั้นรูปคนแคระที่มีศีรษะเป็นคนหรือสัตว์ต่างๆ และลวดลายอื่นๆที่ยังคงหลงเหลือประดับอยู่ที่โบราณสถานเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยในปัจจุบัน
ศาลเจ้าพ่อศรีเทพ
  เป็นศาลที่ประดิษฐานเจ้าพ่อศรีเทพ ที่เป็นที่ศรัทธาเลื่อมใส เคารพนับถือของชาวอำเภอศรีเทพ และบริเวณใกล้เคียง โดยจะมีงานบวงสรวงจัดขึ้นทุกปี ในช่วง ปลายเดือนมกราคม-ต้นเดือนกุมภาพันธ์ มีลักษณะเป็นอาคารไม้ทรงไทยสองหลัง อาคารด้านหน้าประดิษฐานเจ้าพ่อศรีเทพ อาคารด้านหลังใช้เป็นอาคารเอนกประสงค์ แต่เดิมองค์เจ้าพ่อที่ค้นพบที่เมืองโบราณศรีเทพ เคยประดิษฐานอยู่ที่ศาลแห่งนี้ แต่ได้ถูกโจรกรรมไป ชาวบ้านที่เคารพนับถือจึงได้มีการแกะสลักองค์เจ้าพ่อขึ้นใหม่ตามจินตนาการ และใช้เคารพบูชามาจนถึงปัจจุบัน
เขาคลังนอก
   
เป็นศาสนสถานขนาดใหญ่ มีลักษณะเป็นมหาสถูปทรงสี่เหลี่ยนจัตุรัส ก่อด้วยศิลาแลที่ยังคงสภาพเดิมค่อนข้างสมบูรณ์ มีการประดับตกแต่งด้วยอาคารจำลองอยู่โดยรอบ ภายในทึบตัน มีบันไดทางขึ้น 4 ด้าน มีสถูปที่ก่อด้วยอิฐตั้งอยู่ทางด้านบนล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วและซุ้มประตู
ปรางค์ฤาษี
   
เป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย มีบักษณะของสถาปัตยกรรมเป็นแบบเขมรโบราณ ปราสาทก่อด้วยอิฐ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงขนาดไม่สูงนัก และมีอาคารขนาดเล็กอยู่ในบริเวณเดียวกัน ล้อมรอบด้วยกำแพงที่ก่อด้วยศิลาแลง พบโบราณวัตถุต่างๆ เช่น ศิวลึงค์ ฐานประติมากรรม ชิ้นส่วนโคนนทิ เป็นต้น

   นอกจากโบราณสถานหลักแล้วยังมีโบราณสถานย่อยๆ กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป เช่น ทิศใต้ของเขาคลังใน พบโบสถ์ก่อด้วยศิลาแลง พบใบเสมาหินบริเวณใกล้หลุมขุดค้น และพบโบราณสถานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสมัยทวารวดี ซึ่งได้มีการก่อสร้างทับในระยะที่รับเอาศาสนาพราหมณ์เข้ามา จึงเห็นได้ว่าบริเวณเมืองชั้นในเดิมน่าจะเป็น เมืองแบบทวารวดีและมีการสร้างสถาปัตยกรรมเขมรในระยะหลังเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ทางทิศใต้ยังพบอาคาร มณฑปแบบทวารวดีขนาดใหญ่ และมีการพยายามเปลี่ยนแปลงให้เป็นเทวาลัยประมาณต้นศตวรรษที่ 18 แต่ ไม่สำเร็จ เช่นเดียวกับปรางค์ศรีเทพ

 

Thai
© 2024 สงวนลิขสิทธิ์โดย บริษัทไทยทัวร์อินโฟ จำกัด โทร 02-1641001-2 email sales@choowap.com